การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา




ประวัติการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยา เคยเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัยมาก่อน เมื่อสิ้นรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง ปรากฏว่าหัวเมืองมอญซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นได้ก่อการกบฏกรุงสุโขทัยนั้นไม่สามารถปราบปรามได้ พระเจ้าอู่ทองทรงเห็นว่ากรุงสุโขทัยอ่อนอำนาจลง จึงประกาศอิสรภาพและทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียใหม่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วยการเปลี่ยนแปลงตามแบบขอม คือ แบบเทวสมมติ หรือเทวราชาโดยได้รับมาจากอินเดีย พระเจ้าแผ่นดินเป็นสมมติเทพเสมือนเจ้าชีวิตการติดต่อกษัตริย์กับประชาชนต้องใช้คำราชาศัพท์ สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์ราชย์อย่างแท้จริง เป็นที่มาของการปกครองแบบนายกับบ่าวหรือเจ้ากับข้า การปกครองใช้วิธีการทหารแบบสุโขทัย การบริหารราชการแผ่นดินแบ่งออกเป็น 4 กระทรวง คือ เวียง วัง คลัง นาเรียกว่า “จตุสดมภ์”
การปกครองแบบจตุสดมภ์
ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ปรับปรุง ระบอบการปกครองในส่วนกลางเสียใหม่เป็นแบบจตุสดมภ์ตามแบบอย่างของขอม โดยมีกษัตริย์เป็นผู้อำนวยการปกครอง การปกครองประกอบด้วยเสนาบดี 4 คนคือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา พร้อมทั้งได้ตรากฎหมายลักษณะอาญาหลวงและ กฎหมายลักษณะอาญาราษฎร เพื่อเป็นบรรทัดฐานในด้านยุติธรรม การบังคับบัญชา ในส่วนกลางแบ่งออกเป็น
1. กรมเมือง (นครบาล) มีพระยายมราชเป็นผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองภายในเขตราชธานี การบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรและการปราบโจรผู้ร้าย2. กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) มีพระยาธรรมาเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการภายในราชสำนักและพิพากษาอรรถคดี3. กรมพระคลัง (โกษาธิบดี) มีพระยาโกษาธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับจ่ายเงินของแผ่นดิน และติดต่อ ทำการค้ากับต่างประเทศ
4. กรมนา (เกษตราธิการ) มีพระยาพลเทพเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับเรือกสวนไร่นาและเสบียงอาหารตลอดจน ดูแลที่นาหลวง เก็บภาษีค่านา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวงและพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องโค กระบือ และที่นา
การปกครองส่วนภูมิภาค
หัวเมืองที่อยู่นอกราชธานี แบ่งออกเป็นเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านมีพระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงปกครองประกอบด้วย
1.หัวเมืองชั้นใน เมืองที่อยู่ไม่ไกลจากราชธานีมีขุนนางหรือผู้รั้งปกครอง
2.หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร เมืองที่ไกลจากราชธานีออกไปมีเจ้าเมืองปกครอง
3.หัวเมืองประเทศราช เมืองขึ้นให้ปกครองกันเองแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายเมืองหลวงทุก 3 ปี
การปฏิรูปการปกครองสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
การปกครองส่วนกลางมุหนายกเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน สมุหพระกลาโหมเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร แยกงานกระทรวงและทหารออกจากกันเปลี่ยนชื่อจตุสดมภ์ใหม่โดย กรมเวียงเป็น กรมพระนครบาล กรมวังเป็น กรมพระธรรมาธิกร กรมคลังเป็น กรมพระโกษาธิบดี กรมนาเป็นกรมพระเกษตราธิการ
การปกครองส่วนภูมิภาค ยกเลือกเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน เลี่ยนเป็นหัวเมืองชั้นในมีผู้ปกครองเรียกว่า “ผู้รั้ง” หัวเมืองชั้นนอก(เมืองพระยามหานคร) มีฐานะเป็นเมืองชั้นตรี โท เอก เพื่อถ่วงดุลอำนาจเจ้านายและขุนนาง
จัดระเบียบมูลนาย ไพร่ กำหนดให้ไพร่จดทะเบียนสังกัดมูลนาย
ออกกฎหมายศักดินา กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของคนในสังคม
ตรากฎหมายมณเฑียรบาล ว่าด้วยการขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์

ลักษณะทางสังคมของอยุธยาประกอบด้วยชนชั้นต่างๆตั้งแต่จุดสุดยอดถึงพื้นฐานของสังคม 6 ชนชั้น คือ
1. พระมหากษัตริย์ ทรงมีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศทุกด้านเช่นในทางการเมืองทรงเป็นเจ้าชีวิตและเป็นประมุขของอาณาจักรและมีอำนาจเหนือชีวิตของทุกคนในสังคม ในทางสังคมทรงเป็นผู้นำสังคม และเป็นองค์อุปถัมภ์ของศาสนาพุทธในแง่สถาบันพระมหากษัตริย์จะอยู่ในฐานะแตกต่างจากสุโขทัย เพราะอยุธยาเป็นอาณาจักรที่กว้างขวาง จึงต้องเป็นสถาบันที่เข้มแข็งเป็นที่เกรงขามของประชาชน ด้วยเหตุนี้อยุธยาจึงรับคติเทวราชาเข้ามา ทำให้กษัตริย์อยู่ในฐานะเทพเจ้า
2. เจ้านาย ประกอบด้วยพระราชโอรสพระราชธิดาและเชื้อพระวงศ์พวกเจ้านายที่จะช่วยเหลือราชการแผ่นดินตามที่พระมหากษัตริย์มีบัญชา ซึ่งยศของเจ้านายแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
สกุลยศ เป็นยศที่เจ้านายแต่ละองค์ได้รับมาตั้งแต่กำเนิด
อิสริยยศ เป็นยศที่ได้รับพระราชทานเรื่องจากได้รับราชการแผ่นดิน
3. ขุนนาง ชนชั้นสูงที่รับราชการกับพระเจ้าแผ่นดิน และเป็นชนส่วนน้อยในสังคมที่มีโอกาส เข้ารับราชการมักเป็นสังคมปิดเนื่องจากมีการสืบทอดตำแหน่งในวงศ์ตระกูลแลแหล่งที่มาของอำนาจ ขุนนางคือ กำลังคนที่อยู่ในความควบคุม ที่เรียกกันว่า ไพร่หลวง
4. พระสงฆ์ คือบุคคลที่บวชในพุทธศาสนาทุกคนเป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างชนชั้นปกครองกับพวกไพร่หรือสามัญชน พระสงฆ์ประกอบด้วย สมาชิก 2 พวก คือ พวกที่บวชตลอดชีวิตและพวกที่บวชชั่วคราวซึ่งชนชั้นไหนก็สามารถบวชเป็นพระสงฆ์ได้
5. ไพร่ เป็นเสรีชนที่ต้องให้แรงงานแก่รัฐบาลและถูกควบคุมโดยรัฐบาลหรือเจ้านาย ซึ่งรวมเรียกว่ามูลนาย ไพร่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ของสังคม มีประมาณ 80-90% ของคนในสังคมอยุธยา
6. ทาส คือ ชนกลุ่มน้อยของสังคมที่ได้จากการกวาดต้อนผู้คนของเมืองที่แพ้สงครามหรือไพร่ที่ขายตัวเมื่อยากจนลง ทาสสมัยอยุธยาแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได 2 ประเภท คือ
- ทาสที่สามารถซื้ออิสรภาพของตนเองคืนได้ เรียกว่า ทาสสินไถ่
- ทาสที่ซื้ออิสรภาพของตนเองไม่ได้ คือ ทาสเชลยศึกหรือลูกทาสเชลย


ที่มา:http://www.dopa.go.th/history/politic2.htm
น.ส.กมลทิพย์ เทพโอสถ ชั้นม.4/5 เลขที่ 1

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS
Read Comments

1 ความคิดเห็น:

PEARL กล่าวว่า...

แสบตามากกกกกกกกกก

แสดงความคิดเห็น